แบบทดสอบครั้งที่2 ชุดที่1

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กฎหมายไทย


กฎหมาย คืออะไร
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 กำหนดคำนิยามความหมายของคำว่า กฎหมาย ไว้ว่า
กฎหมาย กฎ. น. กฎ ที่สถาบัน หรือ ผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐ ตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจาก จารีตประเพณี อันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อ ใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อ ใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ
กฎหมายคืออะไรเป็นปัญหาที่ได้รับการถกเถียงกันมาตั้งแต่โบราณจวบจนถึงปัจจุบันก็ยังไม่เป็นที่ยุติ ทั้งนี้เพราะการให้ความหมายของคำว่า "กฎหมายแตกต่างไปตามแต่ว่าผู้ให้ความหมายนั้นมีแนวความคิดทางกฎหมายอย่างไร แต่ไม่ว่าสำนักความคิดใดหรือนักกฎหมายใดจะให้ความหมายของกฎหมายเป็นอย่างไรก็ตาม ก็เป็นที่ยอมรับตรงกันว่า กฎหมายสามารถจำแนกลักษณะได้ 4 ประการ"
1. กฎหมายต้องมีลักษณะเป็นเกณฑ์
2. กฎหมายต้องกำหนดความประพฤติของบุคคล
3. กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
4. กฎหมายต้องมีกระบวนการบังคับที่เป็นกิจลักษณะ
4. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมาย

เดิมเรียกชื่อว่า "พระธรรมศาสตร์" (JURISPRUDENCE) มาจากคำว่า JURISPRUDENTIA ซึ่ง พระเจ้าจัสติเนียน (JUSTINIAN) ทรงบัญญัติขึ้นใช้เป็นครั้งแรก และประเทศอังกฤษได้นำเอาคำนี้มาใช้ทับศัพท์ว่า "JURISPRUDENCE" เสด็จในกรม กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ (พระบิดาแห่งกฎหมายไทย) ซึ่งทรงสำเร็จ กฎหมายจากประเทศอังกฤษได้ทรงทำหลักวิชานี้มาสอนที่โรงเรียนกฎหมาย กระทรวงยุติธรรมเป็นครั้งแรก
5. กฎหมายมหาชน

กฎหมายมหาชน คือ กฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่รัฐ แก่หน่วยงานของรัฐ แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ และแก่ประชาชน ในการบริหาร การปกครองประเทศ และการบริการสาธารณะ ซึ่งหลักการ สำคัญของกฎหมายมหาชนนอกจากจะบัญญัติให้อำนาจและหน้าที่แก่หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ดังที่กล่าวมาแล้ว การใช้อำนาจหน้าที่ที่กฎหมายบัญญัติยังสามารถควบคุมตรวจสอบได้ ตามหลักเกณฑ์และกระบวนการของกฎหมายมหาชน
ที่มา http://www.thethailaw.com/

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้เลยนะครับว่าสถานการณ์บ้านเมืองค่อนข้างเป็นที่น่าจับตามองในสภาวะที่สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลง ไปอย่างมากเข้าสู่ ระบบทุนนิยม ที่ “เงินตรา” มีความสำคัญนำหน้าจิตใจความรับรู้สิ่งที่ถูกผิด ศีลธรรม จริยธรรมถูกละเลย
เป็นเรื่องรองลงมาจนบางครั้งผมเองรู้สึกว่า “เงิน” สามารถซื้อ ความเป็นมนุษย์ ความเป็นคนหรือซื้อศักดิ์ศรีความเป็นไทย
ไปแล้วสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในสังคมไทย แทบทุกหย่อมหญ้า ไม่ว่าในสังคมเมืองหรือชนบท ระบบทุนนิยมได้เริ่มสร้าง
ปัญหาสังคมต่างๆ ซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น ทั้งปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม ความยากจน ความเป็นอยู่ของประชาชน ตลอดจนถึงปัญหาอาชญากรรมการรับรู้ข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบ้านเมืองขณะนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ประชาชนต้อง
คอยติดตามและใช้วิจารณญาณ คิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ว่าสิ่งใดถูกสิ่งใดผิด

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พ่อของแผ่นดิน” พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพทรงมองการณ์ไกลเสมือนหนึ่งเล็งเห็น
เหตุการณ์ล่วงหน้า ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผืนแผ่นดินไทย พระองค์ท่าน ได้พระราชทานปรัชญา “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศมาเป็นเวลานานแล้วและดูเหมือนว่าในสถานการณ์ปัจจุบันปัญหาต่างๆจะไม่เกิดขึ้นกับ
ประเทศไทย ถ้าแนวทาง เศรษฐกิจพอเพียงนี้ไม่ถูกละเลย และเป็นที่ยึดถือปฏิบัติ อยู่ในจิตสำนึกของพสกนิกร
ชาวไทย และที่สำคัญคือผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำประเทศ และดูแลความสงบสุข เรียบร้อยในบ้านเมือง

ที่มา http://www.blogger.com/post-create.g?blogID=2135329021419377972
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนา และบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอก และภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผน และการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิต ด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุล และพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ที่มา http://sufficiencyeconomy.panyathai.or.th/
เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง

มีหลักพิจารณา ดังนี้

กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา

คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน

คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้

1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ

2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ

3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
ที่มา http://www.inspect9.moe.go.th/economic_king80.htm
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้างประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้


"….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…"


ที่มา http://www.prdnorth.in.th/The_King/justeconomic.php
เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงชีวิต ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่ชาวไทยนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 เป็นต้นมา[1][2] และถูกพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ[3]

เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ โดยปัญญาชนในสังคมไทยหลายท่านได้ร่วมแสดงความคิดเห็น อย่างเช่น ศ.นพ.ประเวศ วะสี, ศ.เสน่ห์ จามริก, ศ.อภิชัย พันธเสน, และศ.ฉัตรทิพย์ นาถสุภา โดยเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับวัฒนธรรมชุมชน ซึ่งเคยถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งนับตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 และได้ช่วยให้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในสังคมไทย

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9[3][4] และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูเป็นอย่างสูงจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ[5] และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน[6] โดยมีนักวิชาการและนักเศรษฐศาสตร์หลายคนเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง แต่ในขณะเดียวกัน บางสื่อได้มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องขององค์การสหประชาชาติ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีขององค์การ
ทีมา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A3%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%87